สอนสเปนงู ๆ ปลา ๆ บทที่ 1 – พยัญชนะและการออกเสียง

ภาษาสเปนใช้ตัวอักษรแบบอัลฟาเบติก พยัญชนะและสระมีความสำคัญเท่ากัน สระสามารถอยู่โดดเดี่ยวได้โดยไม่ต้องพึ่งพยัญชนะ เป็นพยัญชนะละติน มีบางตัวที่บรรพบุรุศเก่าแก่ช้านานได้บรรจงวิจิตรสร้างขึ้นมา เช่น Ñ ตัว N มีหนอนชาเขียวกระดึ๊บ ๆ กินชาดำอยู่บ้างบน ทำเป็นเล่นไป ภาษาใด ๆ ในโลกไม่มีตัวนี้อีกแล้วนาจา

ตัวอักษร

ตัวอักษรเดี่ยวเดียวดายมีทั้งหมด 27 ตัว เพิ่มจากปกติไม่ใส่ไข่ดาว 26 ตัว ก็คือตัว N มีหนอนชาเขียวกระดึ๊บ ๆ นั่นเอง ดังนี้

ฟังการออกเสียงทั้งหมดได้ที่นี่ (วิดีโอชาวบ้าน)

หมายเห็ด

1) เสียงเสียดแทรก (fricative) หมายถึง เสียงพยัญชนะที่อวัยวะที่ใช้ในการออกเสียงปิดกันไม่สนิท ลมที่ออกมาจากคอผ่านได้แต่ไม่สะดวก

 ลำดับที่  ตัวอักษร  ชื่อตัวอักษร  IPA  เสียงและคำอธิบาย
 1 สระ  A a  อา a  เทียบได้กับเสียงสระ -ะ -า ในภาษาไทยได้เลย
 2  B b  เบ  bβ  เทียบเท่ากับเสียงพยัญชนะ บ หรือพยัญชนะ b ในภาษาอังกฤษ

  1. ถ้า b อยู่ต้นพยางค์ ออกเสียงเต็มเหมือน บ หรือ b เลย เช่น boleta
  2. ถ้า b อยู่เป็นพยัญชนะต้นแต่ไม่ได้อยู่เป็นพยางค์แรก เป็นเสียงเสียดแทรก ออกเสียงไม่เต็มเสียง ริมฝีปากจะไม่ปิดกันสนิท เช่น cebolla
 3  C c  เ  θ แบบสเปน, s แบบละตินอเมริกา หรือ k  1. โดยทั่วไปออกเสียง /k/ เทียบเท่าได้กับเสียง ก ในภาษาไทย (ไม่ใช่ ค หรือ ข เพราะเสียง /ค/ ในภาษาไทยเสียงจะไม่หนักเท่าตัว c ในภาษาสเปน แต่ในที่นี้จะขอใช้ ค แทนเสียงนี้

2. ออกเสียง θ แบบสเปนหรือ s แบบละตินอเมริกา เมื่อนำหน้าสระ i และ e โดย θ แบบสเปนยุโรป คิือเสียงเสียดแทรกฟันไม่ก้อง ออกเสียงโดยการเอาลิ้นมาแตะฟันหน้าแล้วพ่นลม จะได้เสียงเหมือน t และ s ผสมกัน หรือ เสียงs แบบละตินอเมริกา เทียบเท่ากับเสียง /ซ/ ปกติ (อันนี้ไม่พืั้นฐานแล้วมั้งเนี่ย)

 4  D d  เอ  e  เทียบเท่าได้กับเสียงสระ เ-ะ เ- ปกติ
 5 สระ  E e  เอ  e  เทียบเท่าได้กับเสียงสระ เ-ะ เ- ปกติ
 6  F f  เอ๊ะเฝะ  f  เทียบเท่าได้กับเสียง /ฟ/ ในภาษาไทย
 7  G g (แบบสเปน) เฮ (แบบละตินอเมริกา)  x หรือ ɡ 1. โดยทั่วไปออกเสียง /g/ ตามหลักการออกเสียงแล้วจะไม่เท่ากับเสียง /ก/ เพราะเสียง /g/ จะก้องกว่า แต่ในที่นี้จะขอใช้ ก แทนเสียงนี้

1) ถ้าอยู่หน้าพยางค์ ออกเสียงเต็ม เช่น guante

2) อยู่ตำแหน่งอื่น ๆ ออกเสียงเสียดแทรก โคนลิ้นยกขึ้นสูงแต่ไม่ติดกับลิ้นไก่ เช่น gigante2. เมื่อนำหน้าสระ i, e แบบสเปน เสียงนี้ชื่อว่าเสียงเสียดแทรกเพดานอ่อนไม่ก้อง เกือบคล้ายกับเสียง ค ออกเสียงโดยการบีบช่องคอให้เล็ก ๆ แล้วพ่นลมออกมา หรือ แบบละตินอเมริกา เทียบเท่ากับเสียง ฮ ธรรมดา

 8  H h  อาเฉะ  ไม่ออกเสียง เช่นคำว่า hola ก็ออกเสียงว่า โอล่ะ
 9 สระ  I i  อิ  i  เทียบเท่ากับเสียง  ิ หรือ  ี
 10  J j  ตะ  x  เสียงนี้ชื่อว่าเสียงเสียดแทรกเพดานอ่อนไม่ก้อง เกืิอบคล้ายกับเสียง ค ออกเสียงโดยการบีบช่องคอให้เล็ก ๆ แล้วพ่นลมออกมา หรือ แบบละตินอเมริกา เทียบเท่ากับเสียง ฮ ธรรมดา
 11  K k  กา  k ออกเสียง /k/ เทียบเท่าได้กับเสียง ก ในภาษาไทย (ไม่ใช่ ค หรือ ข เพราะเสียง /ค/ ในภาษาไทยเสียงจะไม่หนักเท่าตัว k ในภาษาสเปน
 12  L l  เอเล่ะ  l เทียบเท่ากับเสียง ล
 13  M m  เอเม่ะ  m เทียบเท่ากับเสียง ม
 14  N n  เอเน่ะ  n  เทียบเท่ากับเสียง น
 15  Ñ ñ  เอเญ่ะ  ŋ  /ถอนหายใจ

เสียงนี้ชื่อว่า เสียงนาสิกเพดานแข็ง เคยเป็นเสียงเดิมของภาษาไทยของตัว ญ ซึ่งปัจจุบันไม่ได้ออกเสียงแบบนี้แล้ว แต่ในภาษาถิ่นยังออกเสียงอยู่ (คนเหนียเจ้า ตัวนี้ออกเสียงยังกะคำว่า ญะ ตี้แปล๋ว่า ทำ) เสียงจะคล้าย ๆ เสียง น ผสมกับเสียง ย ดูวิดีโอเอาเน้อ

 16 สระ  O o  โอ  o เทียบเท่าเสียง โ-ะ โ-
 17  P p  เป  p เทียบเท่ากับเสียง ป
 18  Q q  กู  k ออกเสียง /k/ เทียบเท่าได้กับเสียง ก ในภาษาไทย (ไม่ใช่ ค หรือ ข เพราะเสียง /ค/ ในภาษาไทยเสียงจะไม่หนักเท่าตัว q ในภาษาสเปนจะใช้คู่กับ ue หรือ ui อยู่เสมอ แต่จะไม่ออกเป็นเสียงควบกล้ำ เช่น

queso – เกโซ

quinto – กินโต

 19  R r  เอเร่ะ  ɾ เกือบจะเหมือน ร บ้านเราแล้ว แต่ไม่ใช่ ของเสปนจะเรียกว่า tap คือเอาลิ้นไปวางตำแหน่งเหมือนจะออกเสียง ร แต่สะบัดรอบเดียว ตึ๊บ แล้วเอาลงมา
 20  S s  เอเสะ  s  เทียบเท่ากับเสียง /ซ/
 21  T t  เต  t  เทียบเท่ากับเสียง /ต/
 22 สระ  U u  อู  u  เทียบเท่ากับเสียงสระ อุ อู
 23  V v  อูเบะ  bβ  ออกเสียงเทียบเท่ากับ บ
 24  W w  ดุเบฺละอูเบะ  w เทียบเท่ากับเสียง ว
 25  X x  อิกิ ks เสียง x ในภาษาอังกฤษ

ยกเว้นคำว่า México ตัว x ออกเสียงเหมือนกับ j

 26  Y y  อิกริเอกา  ʝɟʝ  ถึงระบบ IPA จะไม่ได้กำหนดเสียง ย เป็นเสียง ʝ แต่ก็หยวน ๆ ออกเสียงเป็น /ย/
 27  Z z  เซตา   θ แบบสเปน, s แบบละตินอเมริกา ออกเสียง θ แบบสเปนหรือ s แบบละตินอเมริกา แบบสเปนยุโรป คิือเสียงเสียดแทรกฟันไม่ก้อง ออกเสียงโดยการเอาลิ้นมาแตะฟันหน้าแล้วพ่นลม จะได้เสียงเหมือน t และ s ผสมกัน หรือ เสียงs แบบละตินอเมริกา เทียบเท่ากับเสียง /ซ/ ปกติ โดยทั่วไปจะไม่นำหน้าสระ i หรือ e เพราะมันเป็นหน้าที่ของตัว c ในฐานะที่มีเสียงเหมือนกัน ฉะนั้้นจึงปรากฏคำว่า cero โดยที่ชาวบ้านซึ่งก็คือโปรตุเกส ฝรั่งเศส อิตาเลียน โรมาเนีย ใช้ zero

ตัวอักษรประสม

 ลำดับที่ ตัวอักษร    IPA  การออกเสียงและคำอธิบาย
 1  Ch ch    เทียบเท่ากับเสียง /ช/ ในภาษาไทย
 2  Ll ll  ʎ  เสียงนี้ไม่มีชื่อภาษาไทย แต่ภาษาอังกฤษชื่อว่า

Palatal lateral approximant  เสียงจะคล้าย ๆ จ กับ ย ผสมกัน ส่วนแบบโดมินิกันจะออกเสียง ย ไปเลย

 3  Rr rr  เป็นเสียง ร บ้านเราที่แท้จริง ที่กระดกรัว ๆ

การออกเสียง

การออกเสียงภาษาสเปนจะออกเสียงตรงกับตัวเขียนทุกคำ เช่น

 MA RA VI LLO SO
 มา  รา  บิ  โ  โสะ
 RES PE TUO SA MEN TE
 เรส  เป  ตูโอ  ซา  เมน  เตะ

maravilloso – amazing

respetuosamente – respectfully

การออกเสียงภาษาสเปนจะมี การเน้นเสียง ปกติแล้ว คำที่ลงท้ายด้วย สระ หรือ s หรือ n พยางค์ที่เน้นเสียงจะเป็นพยางค์ก่อนพยางค์สุดท้าย เช่น

escribe เอสคริเบ – He/She/You (singular/formal) write(s)

escribes เอสคริเบส – You write

escriben เอสคริเบน – They/ you(plural/formal) write

และคำที่ลงท้ายด้วยพยัญชนะนอกเหนือจากนั้น จะลงเสียงหนักตรงพยางค์สุดท้าย เช่น

estoy เอสโตย – I am

capaz คาปาซ  – capable

reloj เรโลค – clock

claridad คลาริดัด – clarity

แต่จะมีเครื่องหมายเครื่องหมายหนึ่งที่เขียนวางไว้บนสระ เครื่องหมายนี้เรียกว่า tilde เมื่อวางบนสระตัวไหน ให้อ่านสระ หรือสระพร้อมพยัญชนะของตัวนั้นเป็นเสียงเน้น เช่น

rápido ระปิโดะ – fast

estación เอสตาซิออน – station

estáis เอสอิส -you(plural) are

adiós อะดิโอส – bye

เสียงสระประสมจะมีอยู่สองแบบ คือ กึ่งเสียงกับเต็มเสียง และ เต็มเสียงกับเต็มเสียง

โดย i, u ถ้าใช้เป็นสระประสมจะออกเสียงแค่กึ่งเสียง เช่น

Ciento ออกเสียง i กึ่งเสียง เสียง e เต็มเสียง

Entusiasmo i กึ่งเสียง a เต็มเสียง

Cuatro u กึ่งเสียง a เต็มเสียง

Boa ทั้ง o และ a เต็มเสียง

Etérea ทั้ง e และ a เต็มเสียง

ใส่ความเห็น